จิตวิทยา อิทธิพลต่อการเรียนรู้

8593-washpsa

จิตวิทยากับการรับรู้ หมายถึง การแปลความหมายเกี่ยวกับการสัมผัส โดยเริ่มจากการสัมผัสจากสิ่งรอบข้าง ที่มากระทบกับอวัยวะของร่างกายมนุษย์ และส่งผลไปถึงสมอง จากนั้นสมองจะเป็นตัวทำการสั่งการเพื่อให้ร่างกายของเรานั้นทำตาม กระบวนการของการรับรู้ คือ เป็นกระบวนการเข้าใจ ถึงความเข้าใจ ความนึกคิด การรู้สึก ความจำ และการเรียนรู้ กระบวรการรับรู้จะแบ่งออกเป็นลักษณะนี้ Sensing —–> Memory ——> Learning ——-> Decision making

และกระบวนการรับรู้เริ่มขึ้นมาดังต่อไปนี้ สิ่งที่อยู่รอบตัว สิ่งเร้า สัตว์ หรือสิ่งของ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า การสัมผัส การแปลสัมผัส จะเกิดขึ้นภายใต้คำสั่งของสมอง ทำให้เกิดการกระทำบางอย่างขึ้นมา การที่เราได้ยินเสียงปืน สมองจะแปลเสียง ให้เรารับรู้ว่าคือเสียงของปืน โดยเปรียบเทียบเสียงที่เราเคยได้ยินมาจากเมื่อก่อน ในขณะที่สองนั้นแปลความหมายของเสียงออกมา จิตต้องมีเจตนาปนอยู่ ซึ่งเกิดแปลความหมาย และ ต่อไปเราก็จะทราบว่าเสียงนั้นมันคืออะไรต่างหาก สมองจะแบ่งเสียงออกมา และจะจินตนาการเสียงนั้นว่า เป็นปืน อะไร ปืนชนิดใด สรุป กระบวนการรับรู้แบ่งออกได้ดังนี้

1. สิ่งเร้า ( Stimulus ) สิ่งที่จะทำให้เรารับรู้ถึงสิ่งรอบข้างที่เกิด การได้สัมผัส จับต้องสิ่งของ สิ่งแวดล้อมต่างๆ คน สัตว์ สิ่งของ
2. ประสาทสัมผัส ( Sense Organs ) ที่กระทำให้เรารู้สึกว่าได้สัมผัส เช่น ตา หู จมูก ปาก ลิ้นรับรู้รสชาติ และผิวหนังที่เกิดอาการร้อนและหนาว
3. ประสบการณ์ คือสิ่งที่เราได้เคยสัมผัส ได้ยิน และเคยเห็นมาก่อนในอดีตที่จิตของเราได้บันทึกไว้
4. การแปลความหมายของจิตวิทยา กับสมอง สิ่งที่พบเห็นในอดีต จะถูกเก็บไว้ในสมอง หากมนุษยืได้สัมผัสสิ่งเร้า หรือสิ่งที่เคยได้สัมผัสมาก่อน สมองจะสั่งการว่าสิ่งนั้นคืออะไร และผ่านไปหรือยัง

washpsa