ลักษณะของนักจิตวิทยา อาชีพที่หลายๆคนใฝ่ฝัน

เชื่อว่ามีเด็กๆม.ปลายหลายๆคนที่กำลังจะจบการศึกษาในระดับมัธยมปลายสนใจในอาชีพจิตแพทย์ ซึ่งอาชีพนี้ถือเป็น 1 ในอาชีพยอดฮิตที่เด็กๆ ตั้งใจจะสอบเข้ามาเรียนในระดับอุดมศึกษา เพราะนอกจากจะได้ช่วยเหลือผู้ป่วยแล้ว อาชีพนี้ยังมีรายได้ที่ค่อนข้างสูง แต่อย่างไรก็ตามนอกจากการเตรียมตัวอ่านหนังสือเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยไปเรียนยังสาขาที่ชอบแล้ว รู้หรือไม่ว่าคุณสมบัติหรือลักษณะของนักจิตวิทยานั้นเป็นอย่างไร ในบทความนี้จึงได้ยกตัวอย่างลักษณะของนักจิตวิทยาแบบคร่าวๆ มาให้ทุกๆ ท่านที่กำลังอ่านได้ทราบกัน
คุณสมบัติของนักจิตวิทยา
1.    สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะสังคมศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์ในประเภทสาขาการศึกษาจิตวิทยา
2.    มีความเมตตา มีใจรักที่จะช่วยเหลือผู้ป่วย
3.    ต้องเป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม รู้จัดอดทนอดกลั้น
4.    สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีบุคลิกที่ร่าเริงแจ่มใส เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย
5.    วิเคราะห์ปัญหาได้ดี ไม่มีความลำเอียงและที่สำคัญต้องสามารถที่จะเก็บความลับของผู้ป่วยไว้เป็นอย่างดี หรือตอบที่ผู้ป่วยตกลงไว้
6.    มีความสนใจพฤติกรรมของมนุษย์ สังคม รวมไปถึงสิ่งแวดล้อรอบๆตัว
7.    มีความพยายามที่จะไขว่คว้าหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ
8.    เป็นคนมีเหตุผล ตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ สามารถที่จะควบคุมอารมณ์ของตนเองได้เป็นอย่างดี


นักจิตวิทยา มีนิยามของอาชีพว่า เป็นอาชีพที่ต้องวิจัยและศึกษากระบวนการทางจิตใจและพฤติกรรมของมนุษย์ วินิจฉัยพร้อมทั้งให้การบำบัดรักษาหรือป้องกันความผิดปกติ/ความแปรปรวนทางจิต นอกจากเป็นผู้รักษาแล้ว ยังต้องเป็นที่ปรึกษาทางจิตวิทยาคอยให้คำแนะนำ เผยแพร่ความรู้ และอีกมากมายเกี่ยวกับผู้ที่ปัญหาทางสุขภาพจิต ปัจจุบันนักจิตวิทยา สามารถแบ่งได้ตามประเภทของสาขาที่สำเร็จการศึกษามาดังนี้
Educational Psychology (จิตวิทยาการศึกษา) เป็นศาสตร์หนึ่งทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ที่ทำหน้าที่ในด้านของการนำหลักการทางด้านจิตวิทยามาศึกษา แล้วสร้างหลักการทางจิตวิทยาขึ้นมาใหม่อย่างเป็นระบบ พูดง่ายๆก็คือ สาขานี้จะเป็นสาขาที่คอยคิดค้นทฤษฏีทางจิตวิทยาขึ้นใหม่ๆ มาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านจิตวิทยา
Developmental  Psychology (สาขาวิทยาพัฒนาการ) สาขานี้จะศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับจิตใจของมนุษย์อย่างละเอียด เพื่อใช้ข้อมูลที่ได้ในการรักษา บำบัด หรือให้คำปรึกษากับผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจ
Social Psychology (สาขาจิตวิทยาสังคม) สาขานี้จะศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม ว่ามีการตอบสนอง การรับรู้ ระหว่างบุคคลอย่างไร รวมไปถึงการศึกษาอิทธิพลของบุคคลที่มีต่อผู้อื่นด้วย
Counseling  Psychology (สาขาจิตวิทยาการปรึกษา) สาขานี้จะช่วยให้คนที่มีปัญหาได้รู้จักและเข้าใจตนเองมากขึ้น รู้จักเลือกและตัดสินใจเรื่องต่างๆได้ ทำให้คนที่มีปัญหาได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
Industrial  Psychology (สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม) สาขานี้จะใช้ความรู้ด้านจิตวิทยา ในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน ซึ่งเราจะเขียนนักจิตวิทยาเหล่านี้เมื่อเราเข้าสมัครงาน คนที่สัมภาษณ์เราเหล่านี้ คือนักจิตวิทยาที่จบจากสาขานี้
Clinical Psychology (สาขาจิตวิทยาคลินิก) สาขานี้จะเป็นสาขาที่ใช้ความรู้ทางจิตวิทยา มาหาสาเหตุ หาที่มาที่ไปของปัญหาสุขภาพจิตของแต่ละคน แล้วทำการบำบัดรักษา ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ